วันอาทิตย์ที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2553

การวิจัยในชั้นเรียน

การใช้แบบฝึกในการพัฒนาเรื่อง Tenses ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ในภาคเรียนที่ 1 พ. ศ. 2552

โดย อาจารย์วรัญญา วศินคุณากร



การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเรื่อง Tenses สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ผู้วัจัยซึ่งได้กล่าวไว้ 2 ตอน คือการสอนภาษาอังกฤษในชั้นมัธยมศึกษา การสอนเรื่อง Tenses และการสอนเพื่อากรสื่อความหมาย

สรุปผลการวิจัย

การดำเนินการวิจัยได้ดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆดังนี้

1. ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง

1.1 ประชากรได้แก่นักเรียนโรงเรียนแอ๊ดวเวนตีสเอกมัย เขตวัฒนา กรุงเทพมหานคร สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาเอกชน ภาคเรียนที่ 1 ปีการ 2552

1.2 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที 5/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552 จำนวน 29 คน

2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย

เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบฝึกทักษะเกี่ยวกับ Tenses จำนวน 6 ชุด ซึ่งผู้วิจัยเป็นผู้สร้างขึ้นเอง โดยยึดหลักการสอนของการเย่ คือ การเรียนรู้จากง่ายไปหายาก หรือการฝึกจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม และใช้ทฤษฎีการเรียนของเธอร์นไดด์เกี่ยวกับกฎการฝึกหัด กล่าวคือ การฝึกย่อยๆจนทำให้เกิดทักษะ

3. วิธีการดำเนินการวิจัย

1. ทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

2. ดำเนินการทดลองแบบฝึกหัดทักษะเกี่ยวข้องเรื่อง Tenses จำนวน 6 ชุด ซึ่งแบบฝึกหัดนี้ผู้วิจัยสร้างขึ้นเอง โดยยึดหลักการสอนของการเย่ คือการเรียนจากง่ายไปหายาก หรือการฝึกจากส่วนย่อยไปหาส่วนรวม และใช้ทฤษฎีการเรียนรู้ของเธอร์นไดด์ เกี่ยวกับกฎการฝึกหัด กล่าวคือการฝึกย่อยๆมาจนทำให้เกิดทักษะ

3. ทดสอบหลังเรียน(Post- test) กับนักเรียนกลุ่มเป้าหมายด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและนำข้อมูลที่ได้ มาวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะภาษาอังกฤษ

4. การวิเคราะห์ข้อมูล

ในการศึกษา

ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ ผู้วิจัยได้นำ Pre-test, แบบฝึกหัดทักษะในแต่ละคาบและ Post-test ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 ไปวิเคราะห์หาประสิทธิภาพการเรียนการสอนภาษาอังกฤษดังนี้

1. เปรียบเทียบความก้าวหน้าระหว่างก่อนและหลังการเรียนการอสอนโดยใช้สติถิทดสอบหาค่าร้อยละ

2. ศึกษาความสนใจในการเรียนของนักเรียนเมื่อใช้แบบฝึกทักษะเรื่อง Tenses โดยใช้สติถิค่าเฉลี่ย

3. เปรียบเทียบคะแนนความก้าวหน้าของการทำแบบฝึกทักษะในแต่ละคาบของการเรียนสอนโดยใช้สถิติหาค่าร้อย
อภิปรายผลการวิจัยในครั้งนี้พบว่า การวิจัย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/3 จำนวนนักเรียนที่สอบได้คะแนน Pre-Test, Post-Test และแบบฝึกชุดที่ 1-6 พบว่า คะแนนทดสอบหลังเรียนนักเรียนจะทำได้ดีกว่าคะแนนทดสอบก่อนเรียน เนื่องมีความเข้าใจเนื้อหาที่เรียนหลังจากการเรียนาการสอนได้สิ้นสุดลง ส่วนนักเรียนที่ได้คะแนนทดสอบหลังต่ำกว่าเกณฑ์ มีอยู่ 2 คน เนื่องจากนักเรียน 2 คนนี้ อ่านภาษาไม่ค่อยได้ จึงไม่สามารถที่จะตีตวามหมายในประโยคได้ถูกต้อง